รคไซนัสอักเสบเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีความชุกประมาณร้อยละ 15 ในประชากรทั่วไป และพบว่าร้อยละ 40 ถึง 75 ของผู้ป่วยโรคหืด มีปัญหาโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ในขณะที่ร้อยละ 35 ของผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีปัญหาโรคหืดร่วมด้วย ในประเทศไทยพบว่า มีความชุกของโรคจมูกอัก เสบภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30 และความชุกของโรคหืดจากอาการประมาณร้อยละ 6.8 ในประชากรทั่วไป ความชุกของโรคหืดจากการตรวจความไวเกินของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้นประมาณร้อยละ 2.9 และพบว่าร้อยละ 63 ของผู้ป่วยโรคหืด มีปัญหาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ในขณะที่ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้มีปัญหาโรคหืดร่วมด้วย โดยร้อยละ 45 มีอาการของโรคจมูกอักเสบนำมาก่อนอาการของโรคหืด และร้อยละ 15 มีอาการของโรคจมูกอักเสบตามหลังอาการของโรคหืด ร้อยละ 30 มีอาการของทั้งสองโรคพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาถึงอุบัติการณ์ของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง และโรคหืดที่เกิดร่วมกันในประเทศไทย

โรคไซนัสอักเสบมีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง โดยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจากไวรัส และสามารถกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบได้ ผู้ป่วยบางรายเกิดไซนัสอักเสบเรื้อรัง ซึ่งโรคหืดเป็นภาวะหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เนื่องจากการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง พบร่วมกันได้บ่อย โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม และทำให้หลอดลมมีความไวมากกว่าปกติต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ และทำให้เกิดการอุดกั้นของหลอดลม โดยผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด โดยอาการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือตลอดวัน การอุดกั้นของหลอดลมสามารถหายได้เองบางส่วนหรือทั้งหมด หรือหายได้ด้วยการให้ยารักษา

กลไกปฏิสัมพันธ์ระหว่าง จมูกและทางเดินหายใจส่วนล่าง

กลไกที่ทำให้การทำงานของทางเดินหายใจส่วนล่างผิดปกติในผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบมีดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่เป็นโรคไซนัสอักเสบ มีการทำงานของจมูก ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกรองอากาศ และปรับสภาพอากาศเสียไป ผู้ป่วยต้องหายใจทางปาก ทำให้ทางเดินหายใจส่วนล่าง มีโอกาสสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งระคายเคืองมากขึ้น เป็นผลให้เกิดกระบวนการอักเสบ และเพิ่มความไวของหลอดลมต่อสารกระตุ้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหืด อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการอุดกั้นของโพรงจมูกกับความรุนแรงของความไวของหลอดลมต่อสารกระตุ้น เยื่อบุจมูกสามารถช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ โดยหลั่งสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เช่น lysozyme และ lactoferrin นอกจากนี้ยังมี secretory IgA และ nitric oxide ซึ่งหลั่งจากเยื่อบุไซนัส ซึ่งมีความสำคัญในการทำหน้าที่ปกป้องทางเดินหายใจส่วนล่าง มีการศึกษาพบว่า การหายใจทางปาก ทำให้ค่าสมรรถภาพปอดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการหายใจเข้าทางจมูก
  2. การสูดสารคัดหลั่งที่เกิดจากไซนัสอักเสบผ่านลงไปในทางเดินหายใจส่วนล่าง กลไกนี้พบในผู้ป่วยที่มีระดับสติสัมปชัญญะลดลงเท่านั้น จากการศึกษาในผู้ป่วยที่ระดับสติสัมปชัญญะดี ที่มีโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง โดยใส่สารรังสีเข้าไปในไซนัส ไม่พบว่ามีการสูดสำลักของสารรังสีดังกล่าวลงไปในปอด
  3. เมื่อมีการกระตุ้นตัวรับรู้ในจมูก โดยการอักเสบของจมูก และ/หรือไซนัส หรือบริเวณอื่นๆ ในทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการจาม ไอ และมีการตีบแคบของหลอดลมได้ ผ่านทางการทำงานของเส้นประสาท เพื่อป้องกันไม่ให้สารกระตุ้นลงไปลึกในหลอดลม
  4. การต่อเนื่องของกระบวนการอักเสบจากทางเดินหายใจส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง โดยผ่านทางกระแสเลือด หลักฐานที่สนับสนุนคือมีการเพิ่มขึ้นของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในกระแสเลือดหลังจากการนำสารก่อภูมิแพ้ใส่เข้าไปในโพรงจมูกของผู้ป่วยโรคหืด ที่มีโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ร่วมด้วย และพบเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบดังกล่าวเข้ามาในหลอดลม

BIM100 บิมร้อย บิม100 liv liv_capsule asian_life เอเชียนไลฟ์ น้ำมังคุด_bim เอชไอวี

ความสัมพันธ์ระหว่างโรคไซนัสอักเสบและโรคหืด

มีการศึกษาที่แสดงว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหืด มักจะมีอาการแย่ลงเมื่อเป็นโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย และประมาณร้อยละ 50 ถึง 70 ของผู้ป่วยโรคหืด มีภาพถ่ายรังสีของไซนัสผิดปกติ โดยความผิดปกติดังกล่าวพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคหืด และความชุกและความรุนแรงของไซนัสอักเสบ แต่ก็มีการศึกษาที่พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างความรุนแรงของโรคหืด และภาวะหลอดลมตอบสนองไวเกินในผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีโรคไซนัสอักเสบ การศึกษาต่างๆ ดังกล่าว บอกเพียงว่าภาวะทั้ง 2 อย่างเกิดร่วมกัน แสดงถึงการมีขบวนการอักเสบเกิดขึ้นทั้งในทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง แต่มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองภาวะดังกล่าวเป็นเหตุและผลของกันและกัน

การอักเสบที่เกิดขึ้นทั้งในทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างนั้น เชื่อว่ามีกลไกของโรคไซนัสอักเสบที่ทำให้อาการของโรคหืดแย่ลง เช่น การสูดสารคัดหลั่งจากไซนัสลงไปในปอด, การกระตุ้นผ่านประสาทสมองคู่ที่ 10 ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดลม, การหายใจทางปากทำให้เกิดภาวะหลอดลมแห้ง และกระตุ้นการสร้างสารที่มีฤทธิ์ทำให้หลอดลมตีบโดยตรง หรือกระตุ้นผ่านทางเซลล์ชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอักเสบให้เข้าไปในเยื่อบุของทางเดินหายใจทั้งในไซนัสและหลอดลมมากขึ้น ตัวอย่างภาวะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีทั้งการแพ้ยาแอสไพริน, ริดสีดวงจมูก และโรคหืดในคนๆเดียวกัน เมื่อผู้ป่วยถูกกระตุ้นด้วยยาแอสไพริน จะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูก และหลอดลมตีบ หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไซนัสและหลอดลม ได้แก่ การที่อาการทางหลอดลมของผู้ป่วยโรคหืดดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคไซนัสอักเสบให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้ยา หรือผ่าตัดรักษา นอกจากนี้การรักษาไซนัสอักเสบ ยังทำให้ภาวะหลอดลมตอบสนองไวเกินลดลงด้วย และผู้ป่วยโรคหืดยังสามารถลดการใช้ยาขยายหลอดลม และยาสเตียรอยด์ชนิดกินได้ ตลอดจนลดจำนวนครั้งของการกำเริบของโรคหืดต่อเดือน และลดการต้องเข้ารักษาในห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยมีสมรรถภาพของปอดกลับมาเป็นปกติเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าให้การรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่มีไซนัสอักเสบร่วมด้วย โดยใช้ยารักษาโรคหืดเพียงอย่างเดียว ไม่ได้รักษาไซนัสอักเสบที่เป็นร่วมด้วย อาจทำให้อาการหอบหืดไม่ดีขึ้นได้

โดยสรุป โรคไซนัสอักเสบและโรคหืด พบร่วมกันได้บ่อย และโรคไซนัสอักเสบทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการแย่ลง ดังนั้น จึงควรซักถามอาการของโรคไซนัสอักเสบในผู้ป่วยโรคหืดเสมอ และในทำนองเดียวกัน ควรซักถามอาการของโรคหืดในผู้ป่วยที่มีไซนัสอักเสบด้วยเสมอ ผู้ป่วยโรคหืดที่รักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการอยู่ ควรได้รับการประเมินว่ามีโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ ถ้าพบว่ามีโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย การรักษาโรคไซนัสอักเสบจะทำให้อาการของโรคหืดดีขึ้น และสามารถหลีก เลี่ยงการใช้ยาควบคุมโรคหืด หรือใช้ยาควบคุมในปริมาณที่น้อยลงได้

ประสบการณ์ผู้ใช้ผลงานวิจัย APCO

คุณปุณณภา ไม้สูง
ผู้มีปัญหาไซนัสอักเสบ และเวียนศีรษะ

คุณมีชัย อยู่แสง
ผู้มีปัญหาไซนัสอักเสบ

วีดีโอทั้งหมด


*สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ท่านสนใจได้ที่ 089-214-8611 และ Line: bim100pan*
Add Friend